homeprovincearchitecturepaintsculpturecontact
 

วัดจักรวาฬภูมิพินิจ

ประวัติความเป็นมา

วัดจักรวาฬภูมิพินิ  ตั้งเมื่อ  พ.ศ. ๒๓๓๐ โดยมี นายสิงห์  สิงห์เสนา  เดิมบ้านอยู่หนองแล้ง  แขวงเมืองสุวรรณภูมิ  ได้พาครอบครัวและญาติมาตั้งบ้านใหม่ชื่อว่า  บ้านหนองหมื่นถ่าน  ต่อมาได้ชักชวนชาวบ้านตั้งวัดขึ้น  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๑  เขตวิสุงคามสีมา  กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร 

ที่ตั้ง

บ้านหนองหมื่นถ่าน  ถนนศรีสุวรนันท์  หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองหมื่นถ่าน  อำเภออาจสามารถ  จังหวัดร้อยเอ็ด  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๒ งาน ๑๕ ตารางวา  อาณาเขต  ทิศเหนือประมาณ ๔ เส้น ๑๐ วา จดที่นาของชาวบ้าน  ทิศใต้ประมาณ ๕ เส้น จดถนนเข้าหมู่บ้านยางเดี่ยว  ทิศตะวันออกประมาณ ๓ เส้น ๕ วา จดดอนปู่ตา  ทิศตะวันตก ประมาณ ๒ เส้น ๑๐ วา  จดถนนศรีสุวรนันท์ 

อาคารเสนาสนะ

ประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๖.๙๐ เมตร ยาว ๙.๑๐ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒

ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๒.๘๐ เมตร ยาว ๑๖.๖๐ เมตร เป็นอาคารศาลาทรงไทย  สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ 

กุฏิสงฆ์  จำนวน ๑ หลังเป็นอาคารไม้  และวิหาร กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
รูปที่ ๑ พระอธิการปุย  พนมใหญ่ 
รูปที่ ๒ พระอธิการทุม  บุตรโท 
รูปที่ ๓ พระอธิการเบ้า
รูปที่ ๔ พระอธิการอ้วน บุตรโท
รูปที่ ๕ พระปลัดอาน บุตรโท
รูปที่ ๖ พระอธิการลือ  สุวัณโณ
รูปที่ ๗ พระครูอดุลศีลพรต 
รูปที่ ๘  พระสมุห์พิบูลย์ สุจิตโต  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔

 
 

รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง

เเปลนรูป ๔ เหลี่ยม ยาว ๓ ช่วงเสา ขนาดความกว้าง ๕.๓๐ เมดร ยาว ๗.๘๕ เมตรรวมมุขหน้าบันไดทอดยาวขึ้นเฉพาะด้านหน้า  สิมหลังนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผนังก่ออิฐฉาบปูนสูง ๓.๓๐ เมตร เจาะช่องหน้าตางด้านละ ๒ ช่อง ฐานแอวขันสูง ๑.๖๐ เมตร ปั้นปูนเป็นบัวปากพานสวยงามมาก หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว สิมเหล่านี้มีความสมบูรณ์ในงานตกแต่งอย่างเต็มที่ นับเป็นสิมตัวอย่างของอีสานที่สมบูรณ์หลังหนึ่ง

 
 

 

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

 
๑. โหง่ ไม้แกะสลักช่างพื้นบัาน ทำอกใหญ่ปากเเละยอดแหลมเรียวเล็ก
๒. ลำยอง สลักไม้เป็นตัวนาคเลื้อยสะดุ้ง ๔ ชั้น มีเกล็ดนาคดูไดัอารมณ์แปลกตากว่าของภาคกลางทั่ว ๆ ไป
๓. หางหงส์ สลักไมู้รปนาค ๓ เศียรแบบพื้นเมือง
๔. ช่อฟ้า ไม้แกะสลักเป็นยอดปราสาท มีนภศูลและฉัตร ๓ ชั้น
 
 

๕. สีหน้า  หรือ หน้าบัน ทำเป็นรัศมีโดยรอบมีดวงตะวันอยู่ตรงกลาง ติดกระจกเงาสะท้อนแสง โดยรอบ
๖. คันทวย สลักไม้เป็นูรป หงส์นาค  คือ หัวเป็นนาค แต่มีปีกเป็นหงส์นั่งอยู่บนเต้าไม้ที่ยื่นออกมาจากเสาด้านข้าง เป็นสวนประดับจริง ๆ มากกว่าจะให้รับน้ำหนัก
๗. ฮังผึ้ง นับเป็นส่วนเด่นเเล้วมีคุณค่ายิ่งของสิมหลังนี้ เพราะช่างได้บรรจงแกะสลักอย่างปราณีตที่สุด แม้จะมีลักษณะฝีมือแบบพื้นบ้านก็ตาม
๘. ตัวสิงห์มอม เป็นปูนปั้นทางเฝ้าบันไดทางขึ้น เป็นรูปแบบของสงห์ในภาคอีสาน ที่มักจะแตกต่างไปจากทางภาคกลางและเหนือ

 
 

๙. แอวขัน ปั้นปูนอ่อนช้อยได้สัดส่วนแบบอีสานแท้ ๆ เรียกว่าเป็นลักษณะของแอวขันปากพานที่สวยงามมากหลังหนึ่ง
๑๐. ประตูเเละ หน้าต่างนั้นช่างทำเรียบง่ายไม่มีการแกะสลักแต่อย่างใด

 
 

ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)

ปรากฏอยู่หนือประตูทางเข้าและผนังภายในบางส่วนเป็นภาพลายเส้นเเบบช่างพื้นบ้าน แต่ดูอ่อนหวานเรียบง่ายให้ความรู้สึกดีมาก  เขียนเรื่องราวพุทธประวัติมารผจญและนรกสวรรค์ ส่วนภายในเป็นวรรณกรรมสินไซ

 


 

สรุปแล้วรูปเเบบของสิมหลังนี้นับเป็นตัวอย่างของ สิมทึบพื้นบ้านบิสุทธิ์  ที่ดีที่สุดหลังหนึ่งของอีสาน 
ส่วนสภาพของวัสดุก่อสร้างนั้น  ฐานก่ออิฐพื้นเมืองซึ่งเผาไม่แกร่งนั้นได้หลุดร่วงลงมาบริเวณมุมเสาของมุขหน้าเนื่องด้วยเสาถูกปลวกกัดกินจนขาด  อิฐทีก่ออ้อมเสาเอาไว้จึงกระเทาะร่วงตามลงมาด้วย กอปรกับปูนฉาบแบบโบราณหมดสภาพการยึดเหนี่ยว บัดนี้ทางวัดได้ใช้ซีเมนต์ซ่อมจนกลับสู่สภาพเดิมแลัว ส่วนโครงสร้างหลังคานั้นยังมีความเเข็งเเรงดีทางคณะกรรมการวัดมีดำริจะรื้อถอน  แต่ท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้นคือพระสมุห์พิบูลย์ สุจิตโตได้คัดค้านเอาไวั ด้วยท่านเข้าใจในการอนุรักษ์โบราณสถาน  ทางกรรมาธิการสถาปนิกอีสานของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์  จึงได้มอบโล่เกียรติยศนักอนุรักษ์ดีเด่นไว้เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๔